Lesson Plan

Curriculum and Instruction in English (10506331)
หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ 1

B-SLIM MODEL
(Thai version)
การสอน B-SLIM MODEL
     วิธีสอนแบบ  B-SLIM เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสารโดยอาศัยหลักการและแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของพีอาเจต์(Piaget)  ทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของวิก็อทสกี้ (Vygotsky)  และทฤษฎี     การเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์ (Discovery Aproach) ซึ่ง Olenka  Bilash เป็นผู้ออกแบบวิธีการสอน (B-Slim Overview.)  แนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative  Language  Teaching)  จุดมุ่งหมายของวิธีสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน  และคนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า  ถ้าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษาและคำศัพท์แล้วจะสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้วพบว่าถึงแม้ผู้เรียนจะเรียนรู้โครงสร้างของภาษาต่างประเทศมาแล้วเป็นอย่างดีก็ยังไม่สามารถพูดคุยหรือสื่อสารกับชาวต่างประเทศ  หรือจะใช้ได้บ้างก็จะใช้ภาษาในลักษณะที่เจ้าของภาษาไม่ใช้กัน  แม้จะเป็นภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  ด้วยเหตุนี้  นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศจึงได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารขึ้น
     สุมิตรา  อังวัฒนกุล  (2540  :  17–21)  กล่าวถึงการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารว่าการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นแนวคิดที่เกิดจากความตระหนักถึงความจริงที่ว่าความรู้ความสามารถทางด้านศัพท์  ไวยากรณ์  และโครงสร้างทางภาษาเพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการสื่อสารกับผู้อื่น     การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  เป็นการใช้ภาษาระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร  ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้จริง  (Actual  Communication)  ได้แก่  วิธีการสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(The  Communicative  Approach)  เนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักของวิธีการสอนดังกล่าวเน้นความสามารถในการสื่อสาร  (Communicative  Competence)  ของผู้เรียน     
     ขั้นตอนการสอนแบบ B-SLIM
     ธูปทอง  กว้างสวาสดิ์  (2544  :  24-30)  ได้สรุปไว้ว่ากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวสื่อสารมีกิจกรรมที่หลากหลาย  แต่กิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ  คือการสอนภาษาที่สองของ 
 บิลาช  Bilash’s Second Language Instructional Model  หรือ  B-SLIM Model. ประกอบไปด้วย 5  ส่วน ดังนี้
    1.  ขั้นวางแผนและการเตรียม  (Planning and Preparation) ขั้นนี้ครูจะเลือกกิจกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียน  นอกจากนั้นครูต้องจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ ที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สื่อต้องน่าสนใจและสอดคล้องกับเนื้อหา  และควรเป็นสื่อที่เป็นของจริง
   2.  ขั้นทำความเข้าใจตัวป้อนหรือข้อความรู้ใหม่  (Comprehensible Input) 
ขั้นนี้ครูต้องอธิบายความรู้ใหม่  ข้อมูลหรือตัวป้อนใหม่  โดยตั้งอยู่บนฐานความรู้เดิมของผู้เรียน  ครูสามารถให้ตัวป้อนเหล่านี้ ในการที่นักเรียนจะเข้าใจหรือเกิดการเรียนรู้  โดยการขยายความ  อธิบายเพิ่มเติม บิลาช  ได้จำแนกตัวป้อนด้านความรู้ออกเป็น 9  ชนิดดังนี้
       2.1  การรับรู้ภาษา  (Language Awareness)   บิลาชและทูลาซิวิคซ์   กล่าวถึงการรับรู้ทางภาษาว่า การรับรู้ภาษาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
                                 -  ทักษะทางภาษา
                                    -  ทัศนคติ
                                    -  การเรียนรู้และการใช้ภาษา
 สิ่งเหล่านี้ผู้สอนต้องบูรณาการเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอน  และสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน
       2.2  การออกเสียง  (Pronunciation)   เป็นส่วนสำคัญของการพูด  และเป็นทักษะที่ยากสำหรับผู้เรียนภาษาต่างประเทศก่อนที่ผู้เรียนจะสามารถพูดได้เป็นประโยค      เขาต้องออกเสียงคำได้ก่อน  การออกเสียงควรเน้นความคล่องและจังหวะ  การขึ้นเสียงสูงต่ำ ตามบริบทและสถานการณ์
       2.3  ศัพท์  (Vocabulary)   สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด  คือ Active Vocabulary หมายถึง  คำศัพท์ที่ผู้เรียนเข้าใจความหมายออกเสียงได้ถูกต้องและใช้การพูดและเขียนได้ Passive  Vocabulary  หมายถึง  คำศัพท์ที่ผู้เรียนรู้ความหมายและเข้าใจเมื่อพบคำนั้น ในรูปประโยคหรือข้อความ  แต่ไม่สามารถใช้พูดและเขียนได้  คำศัพท์ในการสอนแต่ละครั้งต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป และต้องสอนจากศัพท์ที่ใกล้ตัว  หรือคำศัพท์เพื่อการดำรงชีวิต  (Survival Vocabulary)   หมายถึง  ศัพท์ที่ผู้เรียนใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน  เช่น ศัพท์เกี่ยวกับ  สัตว์  คำถาม  คำทักทาย
        2.4  ไวยากรณ์  (Grammar)  การสอนหลักไวยากรณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะยึดหลักการสอนตามแนวสื่อสาร สามารถสอนได้  2  วิธี  คือ
               2.4.1  การสอนแบบอุปนัย  คือ  การสอนโดยใช้กิจกรรมต่างๆ  ขึ้นมาก่อนแล้วครูและนักเรียนช่วยกันสรุปกฎเกณฑ์
               2.4.2  การสอนแบบนิรนัย  คือ  การสอนที่เริ่มจากกฎเกณฑ์ แล้วจึงฝึกการใช้กฎเกณฑ์  โดยใช้กิจกรรมต่างๆ หรือให้ทำแบบฝึกหัดเพื่อให้สนองวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน ครูต้องให้ตัวอย่างเพียงพอ และสาธิตการใช้จนผู้เรียนรู้และผู้สอนต้องแม่นกฎเกณฑ์ก่อนที่จะสอนนักเรียน
        2.5  สถานการณ์และความคล่องแคล่ว  (Situation/Fluency)   การเรียนรู้ภาษาที่สอง  (Second Language-SL)  และภาษาต่างประเทศ  (Foreign Language FL)   หมายถึง  การพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาได้หลากหลายตามบริบทและสถานการณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว     
        2.6  วัฒนธรรม (Culture)วัฒนธรรมสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ซีใหญ่  (Big “C”) หมายถึง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะดนตรี ซีเล็ก  (Small c) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะนิสัย  การแต่งกาย  อาหาร การใช้เวลาว่าง การเรียนภาษาต่างประเทศ คือการเรียนวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถแยกภาษาออกจากวัฒนธรรมได้ การสอนวัฒนธรรมครูควรสอนในรูปของกระบวนการพบปะสังสรรค์  มากกว่าที่จะบอกให้รู้ข้อเท็จจริงทางวัฒนธรรม ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
        2.7  กลวิธีการเรียนรู้  (Learning  Strategy) กลวิธีการเรียนรู้ หมายถึง       การกระทำพฤติกรรม ขั้นตอน และเทคนิคเฉพาะในการเรียนภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ  เช่น  การหาผู้ช่วยในการฝึกการสนทนาเพื่อพัฒนาทักษะพูด  การใช้เทคนิคปรับปรุงปัญหาในการเรียนภาษาของตัวผู้เรียนเอง  ซึ่งมีวิธีการเรียนที่ต่างกัน กลวิธีการเรียนมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้ภาษาในการปฏิสัมพันธ์  การจะเลือกเทคนิคที่มีความคล้ายคลึงกัน  และเลือกซ้ำบ่อยครั้งและจะใช้ภาษาในการสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นครูจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงกลวิธีที่หลากหลายและประสบผลสำเร็จ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
       2.8  ทัศนคติ  (Attitude) เป็นองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงความเชื่อว่าผู้เรียนมีทัศนคติที่แตกต่างต่อสิ่งต่อไปนี้  คือ  ภาษาเป้าหมาย  (Target Language)   ผู้พูดภาษาเป้าหมาย  (Target Language Speaker)  ค่านิยมสังคมทางการเรียนภาษาเป้าหมาย  ทัศนคติเหล่านี้มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนภาษาที่สอง   การมีทัศนคติด้านบวกต่อภาษาเป้าหมาย และวัฒนธรรมของภาษานั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียน  เพราะทัศนคติบวกย่อมเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนอยากปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา นอกจากนั้นทัศนคติด้านบวกยังส่งผลให้ผู้เรียนเลือกใช้กลวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย   อันจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ด้านการฟัง  อ่าน  และเขียนได้อย่างรวดเร็ว  จะเห็นได้ว่าทัศนคติสำคัญมากในการเรียนภาษาที่สอง  ครูควรจำไว้เสมอว่าการแก้ไขทัศนคตินั้น ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ต้องใช้เวลาและเทคนิคที่หลากหลาย
       2.9  ทักษะ (Skill) หมายถึง ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน และยังรวมไปถึงทักษะอื่นๆ  เช่น ทักษะการแก้ปัญหา  การค้นคว้าวิจัย  การหาความรู้ด้วยตนเอง  การเรียนร่วมกับผู้อื่น
              2.9.1  ทักษะการฟัง  (Listening)  ทักษะการฟังถือว่าเป็นทักษะแรกในการสื่อสาร  ถ้าฟังไม่รู้เรื่องก็จะไม่สามารถพูดโต้ตอบได้  ดังนั้นครูจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง  นูนัน และแลมป์  แนะนำว่า  สิ่งสำคัญที่ครูจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเตรียมกิจกรรม คือ การสอนทักษะฟัง  ควรคำนึงถึงสถานการณ์หรือบริบท  กล่าวคือ  เลือกเนื้อหา  ครูควรออกแบบกิจกรรมฝึกการฟังที่หลากหลายและน่าสนใจ  เช่น  ครูให้นักเรียนฟังเทปแล้ววาดภาพ  เป็นต้น
              2.9.2  ทักษะการพูด  (Speaking) ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะพูดครูต้องดูว่ากิจกรรมนั้นต้องเริ่มจากง่ายไปหายาก  โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ครูควบคุมให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งมีรูปแบบและตัวอย่างให้นักเรียน  กิจกรรมเหล่านี้  เรียกว่า  กิจกรรมภายใต้การควบคุม (Conversation)  เช่น ในช่วง Intake-Using It  ก่อนที่ครูจะให้นักเรียนฝึกสนทนาครูต้องมีแบบการสนทนา  (Conversation Matrix)  หรือ  Dialogue        ให้นักเรียนหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  เช่น  บทบาทสมมุติ  การเลียนแบบการอภิปราย ในช่วง  Intake-Using It  การออกแบบกิจกรรมจากง่ายไปหายากเป็นการลดความวิตกกังวล (Anxiety)  ของผู้เรียน 
              2.9.3  ทักษะการอ่าน  (Reading) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการอ่าน  ครูต้องจัดกิจกรรมก่อนการอ่าน  (Preceding  Activity)   เช่นการพูดคุยหรืออภิปราย  ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะอ่าน  หลังจากนั้นเป็นการแจ้งจุดประสงค์การอ่านว่า  หลังจากการอ่านแล้วนักเรียนต้องได้อะไรบ้าง  เช่น         ตอบคำถาม  อภิปรายกับเรื่องที่อ่าน  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ครูต้องแนะนำคำศัพท์หรือโครงสร้างใหม่ก่อนที่จะให้นักเรียนทำกิจกรรม  กิจกรรมสำหรับพัฒนาทักษะการอ่านจัดได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยว  คู่  กลุ่มทั้งชั้น  ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาที่อ่าน
             2.9.4  ทักษะการเขียน  (Writing) บิลาชย้ำว่า ทักษะการเขียนเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง การเรียนรู้การเขียนไม่ใช่ที่เกิดได้โดยธรรมชาติ  เหมือนการพูดสิ่งที่พูดบางครั้งผู้เรียนไม่สามารถเขียนได้  บิลาชได้ออกแบบการสอนเขียนเรียกว่า  แบบ   (Form)   เทคนิค แบบ”  นี้  บิลาชออกแบบจากง่ายไปหายากเพื่อลดสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้  (Affective  Filter)   ซึ่งได้แก่  เจตคติ  แรงจูงใจ  ความวิตกกังวล  เทคนิคการสอนเขียน  แบบ”  ประกอบไปด้วย  4  ส่วน  ดังนี้
                      2.9.4.1  ส่วนเอ  (Quadrant  A)  เรียกว่าส่วน  ศัพท์น้อยกฎน้อย”  เริ่มจากการฝึกเขียนในสิ่งที่ใช้คำศัพท์น้อยและกฎน้อย  เช่น  คำขวัญ  ใบสมัคร  เมนู  คำพังเพย  สุภาษิต  ข้อความ  ปริศนา  คำทาย  การ์ด  เป็นต้น
                     2.9.4.2  ส่วนบี  (Quadrant  B)  เรียกว่าส่วน  ศัพท์มากกฎน้อย”  จำนวนคำศัพท์มีคำศัพท์มากแต่กฎเกณฑ์น้อย  เช่น  ไดอารี่  คำถาม  เพลง  ละครสั้น  จดหมายส่วนตัว  โปสเตอร์  แบบสอบถาม  เป็นต้น
                     2.9.4.3  ส่วนซี  (Quadrant  C)   เรียกว่าส่วน  กฎมากคำศัพท์น้อย”  คือการเขียนต้องใช้กฎเกณฑ์มาก  แต่ใช้คำศัพท์น้อย ได้แก่ การเขียนเกี่ยวกับชีวประวัติ ปกนอกหนังสือ ปฏิทิน บัตรเชิญ  โฆษณา  โปสเตอร์  เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  โฆษณาทางโทรทัศน์  เป็นต้น
                     2.9.4.4  ส่วนดี  (Quadrant  D)  เรียกว่าส่วน  คำศัพท์มากกฎเกณฑ์มาก”  การเขียนในขั้นนี้จะยากขึ้น  เพราะสิ่งที่เขียนนั้นประกอบไปด้วยทั้งกฎเกณฑ์และคำศัพท์เป็นจำนวนมาก  ได้แก่  นิยายผจญภัย  นิทานเปรียบเทียบ  ตำนาน  กฎการเล่นเกม  เขียนบทกวี  การอธิบาย  หนังสือพิมพ์ประจำห้อง  เป็นต้น  
    3.  ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึกทักษะ  (Intake  Activity)  ขั้นนี้  หมายถึง  ช่วงเวลาที่ผู้เรียนรู้  เนื้อหาหรือตัวป้อน  (Input)  ผู้สอนพึงระลึกเสมอว่า  ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจข้อมูล  สาร หรือตัวป้อนทั้งหมดที่ผู้สอนป้อนในขั้นแรก ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสทำสองประการคือ  ประการแรก  ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจตัวป้อน  เรียกว่า  กิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Intake - Getting) กิจกรรมเพื่อความเข้าใจนี้จะใช้เวลาจนกว่าครูจะแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ  Input  ครูอาจจะออกแบบ  4-5  กิจกรรม  แล้วแต่ความยากง่ายของตัวป้อน  กิจกรรมเพื่อความเข้าใจเป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการปฏิบัติมีตัวอย่างแบบแผน  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนลดความกังวลในการปฏิบัติ  ประการที่สอง  หลังจากที่นักเรียนเข้าใจตัวป้อนแล้ว  ครูต้องออกแบบกิจกรรมที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น  เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึก  เรียกว่า  กิจกรรมฝึกใช้ภาษา  (Intake – Using  It)  กิจกรรมฝึกใช้ภาษาเป็นกิจกรรมเพื่อการสื่อสารและเป็นธรรมชาติมากกว่ากิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Getting  It  Activity)
    4.  ขั้นผล  (Output)  กิจกรรมขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษานอกห้องเรียนทั้งทักษะ  ฟัง  พูด  อ่านและเขียน  ลักษณะกิจกรรมขั้นนี้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์และส่วนมากเป็นกิจกรรมเดี่ยว (Individual  Activity)  เช่น  โครงงาน  การเขียนไดอารี่  เรียงความ  เรื่องสั้น  เป็นต้น
    5.  ขั้นประเมินผล  (Evaluation)  ขั้นการสอนนี้ครูรวบรวมข้อมูลต่างๆจากการสังเกต  หรือซักถามผู้เรียนในขั้นต่างๆ  เพื่อต้องการทราบปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาในการสอนครั้งต่อไป  ขั้นนี้เป็นขั้นการประเมินผลการเรียนของนักเรียน  ครูอาจใช้การประเมินทักษะตามสภาพจริง (Authentic  Assessment)  และการสอบเก็บคะแนนปลายภาคเรียน


(English version)

B-SLIM: Bilash's Success-Guided Language Instructional Model 
We talk so much about self directed learning and have structured policies and proposed practices around the assumption that all learners are equally self-directed.  However, practitioners know that not all learners are equally self-directed.  In fact, teachers also know from experience that some learners need to be taught to be self-directed.  By being based on students’ ‘feelings of success’ in learning a second language (SL), B-SLIM (Bilash's Success-guided Language Instruction Model) incorporates enough scaffolding (structure and support) at each phase of a lesson or series of lessons for learners who are less self sufficient to succeed while simultaneously providing opportunities and direction for the more self-directed student to push forward.  For example, while a less self-directed student might need to follow a template several times before really ‘getting’ the structure of a form such as a brief event review (in order to be able to create one on his/her own as an OUTPUT or 'proving it' assignment), a more self-directed learner may only need to hear or see the model once and be able to replicate and creatively alter it!

ตัวอย่างวิดิโอการสอน B-SLIM (Example of teaching B-Slim)

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษรูปแบบ B-SLIM 
(B-Slim Lesson Plan)
Unit: Shopping Topic: Clothes  P.6 B-Slim download

PPP MODEL

 (Thai version) 
  รูปแบบการสอนภาษาเพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ
 เป็นการบูรณาการวิธีการสอนต่าง ๆ 
  วิธีสอนแบบ 3P หรือ 3 ขั้นตอน ได้แก่
              ❃! ขั้นนำ เสนอ (Presentation)
              ❃! ขั้นฝึก (Practice)
              ❃! ขั้นนำ ไปใช้ (Production)
                1. ครูนำ เสนอบทเรียนในขั้นนำ เสนอ (P1 = Presentation) โดยนำ เสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร (Whole Language) ไม่แยกสอนเป็นคำ ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น

               2. ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2 = Practice) อย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ (Whole Group) ก่อน เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา ฝึกกลุ่มย่อยโดยใช้การฝึกลูกโซ่ (Chain Drill) เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้สื่อสารทุกคน ฝึกคู่ (Pair Work) เปลี่ยนกันถาม-ตอบ เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ แล้วจึงให้นักเรียนฝึกเดี่ยว (Individual) โดยฝึกพูดกับครูทีละคน การฝึกเดี๋ยวนี้ครูจะเลือกนักเรียนเพียง 2-3 คน เพื่อทำ เป็นตัวอย่างในแต่ละครั้ง กิจกรรมขั้นนี้ใช้เวลา แต่นักเรียนจะได้ปฏิบัติจริง ครูเพียงแต่คอยกำ กับดูแลให้การฝึกดำ เนินไปอย่างมีความหมายและสนุก

               3. กิจกรรมขั้นนำ เสนอผลงาน P3 (Production) เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลง หรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1 และ 2 อาจให้ทำ งานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงาน

               4. ใหม่จากความคิดของนักเรียนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนได้เรียนเรื่องเวลา กำ หนดเวลา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเวลาแล้วก็สามารถคิดตารางเวลาเพื่อกำ หนดการเดินรถโดยสารของตนเองโดยสมมุติได้ในการจัดกิจกรรมขั้นฝึกและนำ เสนอผลงาน สามารถนำกิจกรรมเสริมทางภาษาที่ครูมีความถนัด เช่น เกมทางภาษา เพลงหรือกิจกรรมเกี่ยวกับจังหวะ การวาดภาพ ฯลฯ มาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมความคิด และช่วยให้การจัดการเรียนการสอนภาษาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยสอนทักษะฟัง-พูด-อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆกัน ด้วยวิธีบูรณาการทักษะที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง

             สื่อการเรียนการสอน

                      การจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ จะใช้สื่อตามสภาพจริง ควบคู่กับสื่อที่ผลิตขึ้นมา สื่อดังกล่าว ได้แก่

                                 1. ของจริง (Reality)

                                 2. ภาพที่ผลิตขึ้นเองและภาพจากหนังสือพิมพ์ (Pictures)

                                 3. วรรณคดีสำ หรับอ่านให้นักเรียนฟัง (Literature)

                                 4. ท่าทาง (Gesture)

                                 5. วิธีการและกิจกรรม (Activities)

                                 6. เพลงและเกม (Songs and Games)                

                                 7. บทบาทสมมุติ (Role Play)


(English version)

PPP model
PPP is a paradigm or model used to describe typical stages of a presentation of new language. It means presentation, production and practice. The practice stage aims to provide opportunities for learners to use the target structure. Criticism of this paradigm argues that the freer 'practice' stage may not elicit the target language as it is designed to do, as in this meaning-based stage, students communicate with any language they can. It is not clear that forcing students to use certain structures to communicate in a practice activity will necessarily mean they will use these structures spontaneously later.
Example
The teacher presents and illustrates the communicative purpose of a new structure 'If I was you…' for advice. Then learners use prompts to complete sentences with the correct forms of the verbs. They practise by giving each other advice.
In the classroom
Despite current doubts about the usefulness of the practice stage in the PPP model, it is still a common framework to find in classes and in materials.


ตัวอย่างวิดิโอการสอน PPP (Example of teaching PPP)

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษรูปแบบ PPP
 (PPP Lesson Plan)
       Unit: Myself  Topic: Personality Traits M.1 PPP download



CBI MODEL



(Thai version) 
 การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา(Content – Based Instruction)จากประสบการณ์ทั้งด้านการสอนและการสังเกตพฤติกรรมการเรียนในห้องเรียนชี้ให้เห็นว่า การเรียนภาษาต่างประเทศจะได้ผลมากที่สุดถ้าครูสอนให้ผู้เรียนใช้ภาษาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ม่งุให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ จะจัดการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง ครูสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่สอนทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในระดับพื้นฐาน (Basic Interpersonal Communication Skills) ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหน้าที่ (Functions) ในสถานการณ์ซึ่งครูจำลองให้เหมือนชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่นการซื้อของ การถามหรือการบอกทิศทาง การแนะนำตัวเอง เป็นต้น การสอนลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสื่อสารได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจำนวนมากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ไม่ว่าจะศึกษาต่อในสาขาวิชาใดก็ตามผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English) เพื่อศึกษาหาความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการ การสอนภาษาโดยเน้นเพียงการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงไม่สามารถเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ต่อไป  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนภาษา ได้ศึกษาเปรียบเทียบการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สรุปว่า ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในระดับพื้นฐานได้ หลังจากการเรียนในระยะเวลา 2 ปีแต่ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาเชิงวิชาการได้ (Grabe และ Stoller, 1997, Cummins, 1983, 1989) ซึ่งถ้าผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะภาษาเชิงวิชาการด้านพุทธิพิสัย หรือ Cognitive Academic Language Proficiency (CALP) จะต้องใช้เวลาเรียนถึง 7 ปี (Cummins 1983, 1989) นอกจากนี้ Cummins ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนย่อมจะมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงควรเริ่มสอนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยเน้นวิธีการสอนที่ใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาในระดับมัธยมศึกษา
Brinton, Snow และ Wesche (1989) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based ว่าเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหาพร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครูไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989) แนวการสอนแบบนี้ ครูจะประสานทักษะทั้งสี่ให้สัมพันธ์กับหัวเรื่อง (Topic) ที่กำหนดในการเลือกหัวเรื่องครูจะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนมีทักษะและกลวิธีการเรียน (Learning Strategies) ที่จำเป็นเพื่อที่จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ การสอนภาษาแนวนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการฝึกกลวิธีการเรียนภาษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของภาษาและสามารถนำกลวิธีนี้ไปใช้ได้ตลอด ส่วนเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ครูสามารถปรับแต่งให้มีความหลากหลายมากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนในแนวนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านการฝึกทักษะทางภาษา กิจกรรมเป็นแบบทักษะสัมพันธ์ที่สมจริง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนได้ฟังหรืออ่านบทความที่ได้จากสื่อจริง (Authentic Material) แล้วผู้เรียนไม่เพียงแต่ทำความเข้าใจข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องตีความและประเมินข้อมูลนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะสามารถพูดหรือเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะได้ฝึกทั้งทักษะทางภาษา (Language Skills) และทักษะการเรียน (Study Skills) ซึ่งจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในสถานการณ์จริงในอนาคต  การสอนแบบ CBI มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)
นอกจากนี้ยังเน้นหลักสำคัญว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี ถ้ามีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง และผู้เรียนจะใช้ภาษามากขึ้นถ้ามีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องนำเนื้อหาที่เป็นจริงและสถานการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยผู้เรียนสามารถใช้พื้นความรู้เดิมของตนในภาษาไทยมาโยงกับเนื้อหาของวิชาในภาษาอังกฤษ และที่สำคัญที่สุด คือ แนวการสอนแนวนี้ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาที่เรียน และใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นการเรียนการสอนวิธีนี้จึงเหมาะสมกับการสอนภาษาในระดับประถมศึกษา


(English version)

CBI - Content Based Instruction Model
CBI is fundamentally a curricular approach or framework, not a method. The focus of most foreign language curricula is on learning about language rather than learning to use language for meaningful communication about relevant content. CBI, in contrast, is an approach to curriculum design that seeks to reach a balance between language and content instruction with an emphasis “on using the language rather than on talking about it” (Lightbown & Spada, 1999, p. 92). This is not to say that there is never an emphasis on the language itself in CBI; on the contrary, CBI at its best integrates a focus on language in the context of content instruction. It has a “dual commitment to language- and content-learning objectives” (Stoller, 2004, p. 261).

ตัวอย่างวิดิโอการสอน CBI (Example 0f teaching CBI)

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษรูปแบบ CBI
(CBI Lesson Plan)
Unit:Travel  Topic:Attractive Places M.4 download









Curriculum and Instruction in English (20506332)
หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ 2



 LISTENING SKILL
(Thai version) 
     ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
     เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน สารที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจกิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
       ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
      ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
       ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
      ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
      ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
      ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
       ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
   3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
2. เอกสารอ้างอิง
......1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
......2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
การสอนทักษะการฟังโดยใช้สถานการณ์และกิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการฟังของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการฟังที่ดี จะนำไปสู่ทักษะการพูดที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)
............ 1. ทักษะการฟัง
............ 2. การฟังโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
............ 3. การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening)
............ 4. สถานการณ์ในการฟัง
............ 5. กิจกรรมในการสอนฟัง
............ 6. กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
............ 7. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
............ 8. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)


(English version)

Teaching Listening
Listening is the language modality that is used most frequently. It has been estimated that adults spend almost half their communication time listening, and students may receive as much as 90% of their in-school information through listening to instructors and to one another. Often, however, language learners do not recognize the level of effort that goes into developing listening ability.
Far from passively receiving and recording aural input, listeners actively involve themselves in the interpretation of what they hear, bringing their own background knowledge and linguistic knowledge to bear on the information contained in the aural text. Not all listening is the same; casual greetings, for example, require a different sort of listening capability than do academic lectures. Language learning requires intentional listening that employs strategies for identifying sounds and making meaning from them.
Listening involves a sender (a person, radio, television), a message, and a receiver (the listener). Listeners often must process messages as they come, even if they are still processing what they have just heard, without backtracking or looking ahead. In addition, listeners must cope with the sender's choice of vocabulary, structure, and rate of delivery. The complexity of the listening process is magnified in second language contexts, where the receiver also has incomplete control of the language.
Given the importance of listening in language learning and teaching, it is essential for language teachers to help their students become effective listeners. In the communicative approach to language teaching, this means modeling listening strategies and providing listening practice in authentic situations: those that learners are likely to encounter when they use the language outside the classroom.

ตัวอย่างวิดิโอการสอน Listening skill
 (Example of teaching Listening)

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง
(Listening Lesson Plan)
Unit:Myself Topic:Family Sub-topic:Member & Details M.4 download

SPEAKING SKILL
(Thai version) 
      การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด  แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ  การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น  มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy)  ในเรื่องของเสียง  คำศัพท์(Vocabulary)   ไวยากรณ์ ( Grammar)   กระสวนประโยค (Patterns)  ดังนั้น  กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด  จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่  สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น  เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร  จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน
1.    เทคนิควิธีปฎิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี  3  รูปแบบ   คือ
1.1   การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical  Drills)  เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ  เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill) 
พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation  Drill)
พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No  Question-Answer Drill) พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้  (Sentence  Building)
พูดคำศัพท์  สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน  (Rub out and Remember) พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering  dialogues)
พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting  dialogue)
พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค  ( Completing Sentences )
พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก  (Split  Dictation)ฯลฯ
1.2   การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful  Drills)  เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ  เช่น  พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้ พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียนฯลฯ
1.3   การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร  (Communicative  Drills)  เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ  เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ( Situation)
พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้  ( Imaginary  Situation)
พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด  ( Describe  and Draw) ฯลฯ
2.     เอกสารอ้างอิง 
1.  กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ 
ชุดที่ 3  Teaching 4  Skills  สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
2.  อารีวรรณ  เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  ช่วงชั้นที่ 1-2  (ป.1-ป.6)  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544.  กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
3.     บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
          การสอนทักษะการพูดโดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น  จะช่วยสร้างเสริมคุณภาพทักษะการพูดของผู้เรียนให้พัฒนาขึ้น  จากความถูกต้อง ( Accuracy)  ไปสู่ ความคล่องแคล่ว ( Fluency)   ได้ตามระดับการเรียนรู้ และ ศักยภาพของผู้เรียน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝนเอย่างสมำเสมอ และต่อเนื่อง ช่นเดียวกับการฝึกทักษะการฟัง 
คำสำคัญ  ( Keywords)  
                                1. ทักษะการพูด
                                2.  ความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy)
                                3.  ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา
 ( Fluency)  
                                4.  การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical  Drills) 
                                5. การฝึกพูดอย่างมีความหมาย 
( Meaningful  Drills)
                                6. การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร  
(Communicative  Drills)
(English version)


ตัวอย่างวิดิโอการสอน Speaking skill
 (Example of teaching Speaking)

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด
(Speaking Lesson Plan)
Unit: My Daily Life Topic: At home Sub-topic: Free Time Activities P.3 download

READING SKILL


(Thai version)
การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,4151  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ”  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)
3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)  
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน  (Post-Reading)
(English version)
Teaching Reading
Traditionally, the purpose of learning to read in a language has been to have access to the literature written in that language. In language instruction, reading materials have traditionally been chosen from literary texts that represent "higher" forms of culture.
This approach assumes that students learn to read a language by studying its vocabulary, grammar, and sentence structure, not by actually reading it. In this approach, lower level learners read only sentences and paragraphs generated by textbook writers and instructors. The reading of authentic materials is limited to the works of great authors and reserved for upper level students who have developed the language skills needed to read them.
The communicative approach to language teaching has given instructors a different understanding of the role of reading in the language classroom and the types of texts that can be used in instruction. When the goal of instruction is communicative competence, everyday materials such as train schedules, newspaper articles, and travel and tourism Web sites become appropriate classroom materials, because reading them is one way communicative competence is developed. Instruction in reading and reading practice thus become essential parts of language teaching at every level.


ตัวอย่างวิดิโอการสอน Reading skill
(Example of teaching Reading Skill)

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
(Reading Lesson Plan)
Unit: General Information Topic: Food M.3 Reading download

WRITING SKILL
          (Thai version)
 การเขียน (Writing) คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ

การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
     1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
Gap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย
1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน
1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
    2. เอกสารอ้างอิง
             1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
              2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
              3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
      การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ ( Keywords)
....... 1. ทักษะการเขียน
.......2. การเขียนแบบควบคุม ( Controlled Writing)
....... 3. การเขียนแบบกึ่งควบคุม ( Less Controlled Writng
....... 4. การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing)
การสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ(Writing skill)
1. การเขียนแบบควบคุม  (Controlled writing) เป็นกิจกรรมในการสอนทักษะการเขียน  ที่ผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาสำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน เช่น รูปแบบประโยคที่ต้องใช้  ตัวอย่างย่อหน้าสำหรับเลียนแบบ  หรือข้อความสำหรับเติมให้สมบูรณ์กิจกรรมการเขียนแบบควบคุมอาจเป็นข้อความให้ผู้เรียนลอกข้อความโดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่าง เช่น  เปลี่ยนคำเอกพจน์เป็นพหูพจน์
2. การเขียนแบบมีการชี้แนะ (guided writing หรือ composition) เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม  โดยผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน  ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น  ประโยคสุดท้าย  คำถาม  หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน  กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้  อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน  เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว  โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
3. การฝึกทักษะการเขียนในลักษณะของการเขียนแบบเสรี ( free composition)
เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม  โดยผู้สอนให้เนื้อหา
และรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน  ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น
  ประโยคสุดท้าย  คำถาม  หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน  กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้  อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน  เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
  ข้อเสนอแนะสำหรับครู
แบบฝึกหัดเขียนนั้นให้ทำในห้องเรียนน้อยที่สุด ควรจะให้ทำเป็นการบ้าน เวลาส่วนใหญ่
น่าจะใช้เป็นการฝึก ฟัง และอ่านที่ครูจะต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
การสอนตามคำบอกมีประโยชน์มาก จะต้องทำในห้องเรียนเช่นเดียวกับแบบฝึกหัดเขียน
ซึ่งเป็นส่วนของการฝึกความเข้าใจในการฟัง
      •แบบฝึกหัดเขียนต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียนมาแล้วในแต่ละหน่วย เพื่อเสริมความแม่นยำ
      ให้กับทักษะ พูด อ่าน และเขียน
กิจกรรมการสอนทักษะการเขียน
 กิจกรรมก่อนการเขียน เป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกทางการเขียนในเรื่อง ต่างๆ เช่น การสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  การใช้กาล (Tense) และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเขียน
กิจกรรมระหว่างการเขียน  เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนนำมาใช้ในการฝึกทักษะการเขียน เช่น นำภาพประกอบมาให้นักเรียนเขียนเรื่องจากภาพ นำเทปบทสนทนามาเปิดให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนเขียนเป็นเรื่องเล่า หรือสรุปเรื่องที่ได้ยิน  
กิจกรรมหลังการเขียน
เมื่อผู้เรียนเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจนำมาอ่านในชั้นเรียนผู้ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง
 ตลอดจนนำมาแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ว่าข้อเขียนนั้นดีถูกต้องในการ
สื่อความมากน้อยเพียงไรและการใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
 และมีข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง
การตรวจงานเขียน
1. การให้ระดับคะแนน  A, B, C หรือ /7, /8 ,…/10 การให้คะแนนแบบนี้เป็นการประเมินการเขียนโดยรวม มิใช่ดูเฉพาะความถูกต้องทางไวยากรณ์เป็นเกณฑ์  แต่ยังต้องดูว่านักเรียนสามารถใช้ภาษาสื่อความคิดได้ชัดเจนหรือไม่  และพัฒนาความคิดและเรื่องราวที่เขียนดีเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
2.  การแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน  good, fair, needs improvement, careless ผู้สอนพึงตระหนักว่าการแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนของนักเรียน  เป็นการชี้ให้ผู้เรียนเห็นทั้งจุดเด่นและข้อด้อย  ผู้สอนควรกล่าวชมสิ่งที่นักเรียนเขียนดีแล้ว  และค่อยชี้ให้เห็นจุดที่ยังบกพร่องให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไข
3.  การตรวจแก้ไขที่ผิด
ที่ผิดซึ่งนักเรียนเขียนมานั้น ผู้เรียนควรวิเคราะห์ด้วยว่ามาจากสาเหตุใด  ผิดเพราะนักเรียนไม่รู้จึงใช้ผิดเขียนผิดหรือผิดเพราะความสะเพร่า
(English version)
Teaching writing is often about teaching grammar.  If grammar comes up anywhere in EFL, it is in the writing classroom.  Most EFL students will have some writing skills when you get them.  But they will often have an idea that their writing is quite good and generally it will be quite poor.
Many EFL students will have had some experience with paragraph and essay writing, but, in fact, they often will have quite poor writing skills at the sentence level.  Therefore, you will need to take them back to sentence level and begin to teach them very basic structure and how to write simply.  Run-on and fragmented sentences will be very common until you correct those errors.
The more basic you get with your writing students, the better.  Once a good foundation is built, you can move on to basic paragraph writing and on to essays.  These skills take time to develop though and you will find that most textbooks will move your students forward too quickly.

ตัวอย่างวิดิโอการสอน Writing skill
(Example of teaching Writing)

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
(Writing Lesson Plan)
Unit: My self Topic: Personal Information M.1


นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษอีกมากมาย ดังนี้
(Thai version)
รูปแบบการสอนแบบ CLIL
การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)
        เป็นการสอนที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเข้ามาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  จุดเน้นของการบูรณาการคือการองค์รวมของวิชามากกว่ารายละเอียดของวิชา  การบูรณาการจำแนกเป็นบูรณาการตามจำนวนผู้สอน ได้แก่ บูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว  แบบคู่ขนาน แบบเป็นทีม  บูรณาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  และบูรณาการแบบสหวิทยาการและแบบพหุวิทยาการ    ขั้นตอนของการบูรณาการมี ดังนี้
1.        ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม และวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  จากนั้นจึงกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.        จัดทำคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
3.        สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันในแต่ละศาสตร์สาขาวิชาและทำแผนการเรียนรู้
(English version)
Content and Language Integrated Learning (CLIL)
What is CLIL?
CLIL aims to introduce students to new ideas and concepts in traditional curriculum subjects (often the humanities), using the foreign language as the medium of communication - in other words, to enhance the pupils' learning experience by exploiting the synergies between the two subjects. This is often particularly rewarding where there is a direct overlap between the foreign language and the content subject — eg Vichy France, Nazi Germany, the Spanish Civil War.
How does the CLIL approach benefit pupils?
Although it may take a while for pupils to acclimatise to the challenges of CLIL, once they are familiar with the new way of working, demonstrably increased motivation and focus make it possible (and likely) that they will progress at faster-than-usual rates in the content subject, providing that the principles of CLIL teaching are borne in mind during planning and delivery. CLIL aims to improve performance in both the content subject and the foreign language. Research indicates there should be no detrimental effects for the CLIL pupils (and often progress is demonstrably better).

      






1 ความคิดเห็น: